วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1.ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

  อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายช่วยสืบค้น  แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เป็นอย่างยิ่ง  แม้จะมีข้อดีอยู่มาก  แต่เทคโนโลยีก็ต้องมีข้อจำกัดและมีผลกระทบต่อผู้ใช้ในหลายลักษณะ เช่น
          1.  ข้อมูลเท็จ  ข้อมูลบิดเบือนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ทำให้ผู้รับสารที่ขาดวิจารณญาณหลงเชื่อ
          2.  การเสนอขายสินค้าผิดกฎหมาย  ขายบริการทางเพศที่แอบแฝงอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          3.  โฆษณาชวนเชื่อของมิจฉาชีพทำให้ผู้รับสารไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          4.  เป็นโรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)  ซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง
          5.  มีปัญหาสุขภาพ  ส่งผลเสียต่อระบบของร่างกายทั้งการกิจ  การขับถ่าย  การนอน  และการออกกำลังกาย
          6.  ทำให้ขาดสังคม  ขาดสัมพันธภาพที่ดีต่อคนรอบข้างและสังคม
          สื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากในการสืบค้นข้อมูลและติดต่อสื่อสาร  เนื่องจากปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ส่งผลให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา  แม้อินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทสำคัญมาก  แต่ผู้ใช้เองก็ต้องรู้จักวิเคราะห์และประเมินข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนเพื่อที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน
        



1. ปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์ทางสังคม

          ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตติดต่อกันเป็นนานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาโรคติดอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง   มีอาการที่ต้องสงสัย  เช่น  มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเรื่อๆ  รู้สึกหงุดหงิด  หดหู่  กระวนกระวายเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้คิดว่าเมื่อได้ใช้อินเตอร์เน็ตแล้วจะทำให้รู้สึกดีขึ้นน  แต่โดยความเป็นจริงแล้วการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย  เช่น  ปวดเมื่อยตามตัว   ข้อมือ  และเหนื่อยล้าทางสายตา  นอกจากนี้  ยังทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว  เพื่อน  หรือการพบปะผู้คนในสังคมลดน้อยลง




2.ปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ เช่น     เจาะระบบรักษาความปลอดภัย 
ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อกระทำการใดๆ กับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ หรือข้อมูลที่มิชอบต่างๆ 
อาจทำให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจ การบิดเบือนข้อเท็จจริง     ขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยการใช้ช่องทางสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล เป็นบุคคลใกล้ชิด หรือสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินที่เสมือนจริง เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเกิดความไว้ใจ หรือหลงเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์     วิธีการหลอกลวงเพื่อเจตนาขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอีกวิธีหนึ่ง คือ การส่งอีเมลถึงผู้รับที่มีข้อความ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลทางการเงิน ไปใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นโดยมิชอบ หรือนำข้อมูลไปขายให้กับผู้ก่ออาชญากรรมอื่น โดยผู้ใช้อาจถูกหลอกให้ตอบกลับอีเมลพร้อมข้อมูลส่วนตัว หลอกให้คลิกบนยูอาร์แอลในอีเมล หรือหน้าต่าง ป๊อปอัพ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บที่ถูกสร้างให้ดูเหมือนเว็บจริงของหน่วยงาน หรือ ธนาคาร และให้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่รู้ตัว เกร็ดน่ารู้ 


    โปรแกรม phishing filtering จะช่วยคัดกรองหน้าเว็บที่ต้องสง
สัยต่างๆ ให้กับผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ตัวป้องกันการแสดงหน้าต่าง
 ป๊อปอัพในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ หรือผู้ใช้เพิ่มความระมัดระวังใน
การให้ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ โดยการตรวจสอบแหล่งทีมาของอีเมลก่อ
ให้ข้อมูล 

    เผยแพร่ภาพอนาจาร การเผยแพร่ภาพอนาจารต่างๆ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น ผ่านเกมออนไลน์ ผ่านการสร้างไฟล์ไวรัสเจาะเข้ามาที่ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เปิดอินเทอร์เน็ตไฟล์ไวรัสจะแสดงภาพอนาจารต่างๆ หรือผ่านโปรแกรมค้นหา โดยการตั้งคำหลักที่หลากหลายให้กับภาพอนาจาร เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำหลักที่ตรงกับที่ได้ตั้งไว้ก็จะปรากฏภาพอนาจารในผลที่ได้จากการสืบค้นหาข้อมูล 

3. ปัญหาการล่อลวงในสังคม

จากการทีผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตบางคน สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ในการติดต่อสนทนากับผู้อื่น โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น เพศ อายุ ภาพถ่าย และอาชีพ เพื่อล่อลวงให้คู่สนทนาสนใจตัวตนใหม่ และนัดพบเพื่อการกระทำอันตรายต่างๆ จนเกิดปัญหาร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือต่อตนเอง 



ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานในระบบเครือข่าย 
    1. ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา เช่น หลีกเลี่ยงในการใช้ชื่อเล่น วันเดือน ปี เบอร์โทรศัพท์ 
    2. เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ 
    3. ติดตั้ง ใช้งาน และปรับปรุงโปรแกรมป้องกันมัลแวร์สม่ำเสมอ 
    4. ศึกษาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับไฟล์ ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล หรือหน้าเว็บต่างๆ 
    เพื่อให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม มีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ผู้ใช้ควรเลือกแสวงหาความรู้และใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และมีวิจารณญาณ รู้จักแยกแยะสิ่งถูกและผิด มีความหนักแน่นในศีลธรรม ไม่ลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยวนใจในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายหรือผลเสียที่อาจได้รับ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกิดเหตุ และใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสังคมและการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีความสุข 



2.บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์

ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น 2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย 5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ 6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์ 7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ 8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน 10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิ























ผลกระทบจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์

1.ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

  อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายช่วยสืบค้น  แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เป็นอย่างยิ่ง  แม้จะมีข้อดีอยู่มาก  แต่เทคโนโลยีก็ต้องมีข้อจำกัดและมีผลกระทบต่อผู้ใช้ในหลายลักษณะ เช่น
          1.  ข้อมูลเท็จ  ข้อมูลบิดเบือนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ทำให้ผู้รับสารที่ขาดวิจารณญาณหลงเชื่อ
          2.  การเสนอขายสินค้าผิดกฎหมาย  ขายบริการทางเพศที่แอบแฝงอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          3.  โฆษณาชวนเชื่อของมิจฉาชีพทำให้ผู้รับสารไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          4.  เป็นโรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)  ซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง
          5.  มีปัญหาสุขภาพ  ส่งผลเสียต่อระบบของร่างกายทั้งการกิจ  การขับถ่าย  การนอน  และการออกกำลังกาย
          6.  ทำให้ขาดสังคม  ขาดสัมพันธภาพที่ดีต่อคนรอบข้างและสังคม
          สื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากในการสืบค้นข้อมูลและติดต่อสื่อสาร  เนื่องจากปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ส่งผลให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา  แม้อินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทสำคัญมาก  แต่ผู้ใช้เองก็ต้องรู้จักวิเคราะห์และประเมินข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนเพื่อที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน




1. ปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์ทางสังคม

          ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตติดต่อกันเป็นนานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาโรคติดอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง   มีอาการที่ต้องสงสัย  เช่น  มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเรื่อๆ  รู้สึกหงุดหงิด  หดหู่  กระวนกระวายเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้คิดว่าเมื่อได้ใช้อินเตอร์เน็ตแล้วจะทำให้รู้สึกดีขึ้นน  แต่โดยความเป็นจริงแล้วการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย  เช่น  ปวดเมื่อยตามตัว   ข้อมือ  และเหนื่อยล้าทางสายตา  นอกจากนี้  ยังทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว  เพื่อน  หรือการพบปะผู้คนในสังคมลดน้อยลง




2.ปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ เช่น     เจาะระบบรักษาความปลอดภัย ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อกระทำการใดๆ กับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ หรือข้อมูลที่มิชอบต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจ การบิดเบือนข้อเท็จจริง 
    ขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยการใช้ช่องทางสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล เป็นบุคคลใกล้ชิด หรือสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินที่เสมือนจริง เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเกิดความไว้ใจ หรือหลงเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 
    วิธีการหลอกลวงเพื่อเจตนาขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอีกวิธีหนึ่ง คือ การส่งอีเมลถึงผู้รับที่มีข้อความ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลทางการเงิน ไปใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นโดยมิชอบ หรือนำข้อมูลไปขายให้กับผู้ก่ออาชญากรรมอื่น โดยผู้ใช้อาจถูกหลอกให้ตอบกลับอีเมลพร้อมข้อมูลส่วนตัว หลอกให้คลิกบนยูอาร์แอลในอีเมล หรือหน้าต่าง ป๊อปอัพ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บที่ถูกสร้างให้ดูเหมือนเว็บจริงของหน่วยงาน หรือ ธนาคาร และให้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่รู้ตัว 
เกร็ดน่ารู้ 
    โปรแกรม phishing filtering จะช่วยคัดกรองหน้าเว็บที่ต้องสงสัยต่างๆ ให้กับผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ตัวป้องกันการแสดงหน้าต่าง ป๊อปอัพในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ หรือผู้ใช้เพิ่มความระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ โดยการตรวจสอบแหล่งทีมาของอีเมลก่อนให้ข้อมูล 
    เผยแพร่ภาพอนาจาร การเผยแพร่ภาพอนาจารต่างๆ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น ผ่านเกมออนไลน์ ผ่านการสร้างไฟล์ไวรัสเจาะเข้ามาที่ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เปิดอินเทอร์เน็ตไฟล์ไวรัสจะแสดงภาพอนาจารต่างๆ หรือผ่านโปรแกรมค้นหา โดยการตั้งคำหลักที่หลากหลายให้กับภาพอนาจาร เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำหลักที่ตรงกับที่ได้ตั้งไว้ก็จะปรากฏภาพอนาจารในผลที่ได้จากการสืบค้นหาข้อมูล 


3. ปัญหาการล่อลวงในสังคม

จากการทีผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตบางคน สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ในการติดต่อสนทนากับผู้อื่น โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น เพศ อายุ ภาพถ่าย และอาชีพ เพื่อล่อลวงให้คู่สนทนาสนใจตัวตนใหม่ และนัดพบเพื่อการกระทำอันตรายต่างๆ จนเกิดปัญหาร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือต่อตนเอง 



ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานในระบบเครือข่าย 
    1. ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา เช่น หลีกเลี่ยงในการใช้ชื่อเล่น วันเดือน ปี เบอร์โทรศัพท์ 
    2. เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ 
    3. ติดตั้ง ใช้งาน และปรับปรุงโปรแกรมป้องกันมัลแวร์สม่ำเสมอ 
    4. ศึกษาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับไฟล์ ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล หรือหน้าเว็บต่างๆ 
    เพื่อให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม มีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ผู้ใช้ควรเลือกแสวงหาความรู้และใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และมีวิจารณญาณ รู้จักแยกแยะสิ่งถูกและผิด มีความหนักแน่นในศีลธรรม ไม่ลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยวนใจในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายหรือผลเสียที่อาจได้รับ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกิดเหตุ และใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสังคมและการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีความสุข 



2.บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์

ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น 2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย 5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ 6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์ 7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ 8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน 10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิ