วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารในเวลาจริง เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม บล็อก วิกิ อาร์เอสเอส พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

     สาระสำคัญ

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้ว
ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งานได้อย่างถูกต้อง                  
                                                              ความสำคัญและความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า อิเล็กทรอนิกส์เมล์
(E-mail = Electronic Mail) หรือเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มีลักษณะการรับและส่งข้อมูลเหมือนกับการติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์
ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนข้อความลงในกระดาษ
แล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือสำนักงานโดยใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้าง
ขึ้นเพื่อใช้เฉพาะภาย ในบริษัทหรือสำนักงาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ได้

        ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต
เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีที่อยู่ของตนเอง
และรู้ที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสาร

เมื่อต้องการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ
เพื่อจะได้ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ชื่อ แอท
โดเมนเนม และรหัส

•ชื่อหรือยูเซอร์เนม (User Name) คือ ชื่อของสมาชิกที่ใช้สมัครหรือลงทะเบียน อาจเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อบริษัท หรือชื่อสมมุติก็ได้
•แอท คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเอที่มีวงกลมล้อมรอบ @ ซึ่งมาจาก แอทซาย (at sing)
ในภาษาอังกฤษ
• โดเมนเนม (Domain Name) คือ ที่อยู่หรือชื่อของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมัครเป็นสมาชิกไว้
เพื่ออ้างเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ
รหัส คือ ข้อมูลบอกประเภทขององค์กรและประเทศของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น .com หมายถึง
องค์การธุรกิจการค้า หรือ .co.th หมายถึง องค์การธุรกิจการค้าในประเทศไทย เป็นต้น

       ข้อดีและข้อจำกัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
•สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
• ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสาร
ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น
• ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์
เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น
• ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม
• สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม
กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
• เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
• ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่
โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ ์
• มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยัง
ไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด


 
การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication)
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเช้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และวอยซ์โอเวอร์ไอพี
                แชท (chat)
เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คน หรือ ระหว่างกลุ่มบุคคล โดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์ เช่นWindows Live และ Yahoo messenger
                ห้องคุย (chat room)
เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือ การใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสาร
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (internet telephony) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์เวอร์ไอพีใช้ อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทาง


เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (Social Networking Web Sites)


ประวัติความเป็นมา 
            จุดเริ่มต้นของสังคมออนไลน์เกิดขึ้นจากเว็บไซต์ Classmates.com เมื่อปี 1995 และเว็บไซต์ SixDegrees.com ในปี 1997 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อสร้างประวัติ ข้อมูลการสื่อสาร ส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนในลิสต์เท่านั้น ต่อมาในปี 1999 เว็บไซต์ epinions.com ที่พัฒนาโดย Jonathan Bishop ก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชั่นในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ ไม่เพียงแต่เพื่อนในรายชื่อเท่านั้น

ความหมาย 
            เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวิดีทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือใช้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ ตัวอย่างเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม เช่น facebook, twitter, Linkedin, hi5 และ wiki เป็นต้น

ขนิดของเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม 
            บริการเครือข่ายสังคม (Social Network Service) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วยการแชท ส่งข้อความ ส่งอีเมล์ วีดีโอ เพลง อัพโหลดรูป บล็อก ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้            1. Publish การเผยแพร่ข้อมูล เอกสาร หรือบทความ
            2. Share การแบ่งปันข้อมูล รูปภาพหรือความรู้
            3. Discuss สังคมในการระดมความคิด
            4. Commerce เครือข่ายสังคมที่เกี่ยวกับธุรกิจ
            5. Location การแบ่งปันสถานที่ที่น่าสนใจ
            6. Network เครือข่ายเพื่อน ธุรกิจ งาน
            7. Game เครือข่ายเกมส์

หลักการทำงานของ social network


            เครือข่ายสังคมออนไลน์ social network ประกอบด้วย            1. Node หน่วยย่อยหรือบุคคลทั่วไปเป็นสมาชิกคนหนึ่งของเครือข่ายที่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับคลอื่น            2. Hub ผู้เป็นศูนย์กลางของ node มักทำหน้าที่เป็นผู้รับ-ส่งข่าวสารต่างๆ จาก node ภายในกลุ่มแล้วกระจายข่าวสารที่ได้รับมาส่งต่อให้กับบุคคลอื่นหรือระหว่างกลุ่มก็ได้ มักเป็นผู้ชอบศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่ไว้วางใจ น่าเชื่อถือ คนที่ทำตัวเป็น Hub นั้นเมื่อทำหน้าที่ได้ดีเป็นที่ไว้วางใจจากบุคคลทั่วไปในกลุ่มก็จะกลายเป็นผู้เชื่อมต่อ (Connector) ไปด้วย เป็นนักประสานผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นนักขายได้อีกด้วย            การขยายตัวของเครือข่ายทางสังคมได้อย่างมากมายและรวดเร็วนั้น มาจาก                        1.) words of mouth ปากต่อปาก ดึงกันเข้ามาในเครือข่าย กลุ่มเพื่อนกัน สถาบันเดียวกัน ที่ทำงานเดียวกัน รุ่นเดียวกัน เป็นต้น                        2.) การใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์อัตโนมัติ เมื่อเพื่อนเราคนหนึ่งเกิดเป็นสมาชิกในเครือข่ายทางสังคมแล้วเจ้าโปรแกรมที่ว่านี้จะคัดลอก (เอง) รายชื่อที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ (contact list) ของเพื่อนเรา ซึ่งจะมีอีเมลเราและคนอื่นๆแล้วกระจายมาให้เราและคนอื่นๆ เพื่อชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิก(เหมือนเพื่อนเรา) เป็นกลยุทธที่แยบยลมากๆ ทำให้เครือข่ายขยายได้รวดเร็วและไม่มีที่สิ้นสุด


ตัวอย่าง social network


สถิติของเครือข่ายสังคมออนไลน์ 

            แนวโน้มของการใช้ social network ในปี 2012            ● โซเชียลเน็ตเวิร์คกลายเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้เวลามากที่สุด คิดเป็น 19% หรือประมาณ 1 ใน 5 ของเวลาที่ผู้ใช้เน็ตล็อกอินเข้าสู่โลกออนไลน์             ● Facebook เป็นผู้นำสำคัญในทุกๆ เรื่องของโซเชียลเน็ตเวิร์ค ในปี 2012 Facebook มีผู้ใช้เกินครึ่งของประชากรอินเทอร์เน็ตโลก โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้งาน Facebook คิดเป็นเวลา 3/4 ของเวลาที่ใช้กับโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกชนิด             ● โซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ใช่เป็นแค่โลกของคนรุ่นใหม่เท่านั้น ในรอบปีหลัง เราจะเห็นคนวัยทำงานเริ่มเข้ามาและยังมีกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้งานอย่างมีนัยยะสำคัญ สถิติที่น่าสนใจ คือ ประชากรผู้ใช้เน็ตกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ในหลายๆ ประเทศมีสัดส่วนการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่สูงมาก เช่น ในสหรัฐฯ ประชากรผู้ใช้เน็ตที่อายุเกิน 55 ปี จำนวนถึง 94.7%             ● ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่า Facebook เป็นราชาแห่งโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คเต็มตัว สามารถเอาชนะคู่แข่งอื่นๆ และผงาดขึ้นมาเป็นแชมป์แบบทิ้งห่าง แต่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีเว็บไซต์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ครายไหนเจริญรอยตาม Facebook ได้แบบเดียวกันบ้าง ปี 2011 ยังเป็นปีที่เราได้เห็นการเปิดตัว Google+ ของกูเกิล ซึ่งมาแรงในช่วงแรก และมียอดสมาชิกแตะ 25 ล้านรายเร็วกว่าใคร (เร็วกว่า Facebook/Twitter ในอดีตมาก) อย่างไรก็ตาม เส้นทางของ Google+ ยังต้องสู้อีกยาวไกล กว่าจะขึ้นไปทาบรัศมี Facebook ในปัจจุบันได้             ● กลุ่มบริการโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่นๆ มี Twitter กับ LinkedIn ที่มีฐานผู้ใช้เยอะที่สุด (แต่ยังห่างกับ Facebook มาก) ส่วนเว็บที่เติบโตเร็วก็อย่างเช่น Tumblr และ Weibo ที่มีอัตราการเติบโตเกิน 100% ต่อปี             ● เทคโนโลยีมือถือจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนโซเชียลเน็ตเวิร์ค เทคโนโลยีมือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กำลังเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบการใช้งาน social network บนมือถือยังเน้นไปที่การอ่าน-อัพเดตสถานะในหมู่เพื่อนๆ และติดตามข่าวสารอื่นๆ ส่วนการเช็คอินข้อมูลสถานที่ยังมีผู้ใช้ไม่เยอะมากนัก รวมไปถึงการหาส่วนลดของบริการร้านค้าต่างๆ             Social Network มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ผู้ใช้งานจึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อไม่ให้ Social Network กลายเป็นภัยของสังคม ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว เป็นคนชอบเล่น Facebook และ Twitter จึงพบเห็นได้ว่ามีบุคคลอื่นซึ่งเราไม่รู้จักเข้ามาดูเป็นจำนวนมาก จึงต้องดูให้ดีก่อนว่า บุคคลนั้นน่าจะคุยด้วยหรือไม่ เพราะเคยเห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีการหลอกขายบริการทางเพศผ่านทาง Hi5 ซึ่งเป็นการใช้ Social Network ที่ผิดวิธี เพราะฉะนั้นในการใช้งานแต่ละครั้งควรที่จะพิจารณาให้ดีก่อน จะได้ไม่โดนลูกหลงของภัยสังคม ที่น่ากลัวขึ้นทุกวัน 


ข้อดีของ Social Network 

 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อน มีโอกาสได้พบเพื่อนเก่า หรือเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจในสิ่งที่คล้ายกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้  เป็นตัวกลางในการเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ กลายเป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมได้เลยทีเดียว  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็วไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ใดบนโลกนี้  เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น  ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า  คลายเคลียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ 


ข้อเสียของ Social Network 

 เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้  Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง ย่อมมีบุคคลที่ไม่หวังดีแฝงตัวอยู่ ดังนั้นหากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ดังที่เป็นข่าวผ่านๆมา  แม้ว่า Social Network Service จะเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น แต่ก็เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้างด้วยเช่นกัน  จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์ 
            ถึงแม้สังคมไทยเป็นสังคมที่เรียกกันว่า “สังคมแห่งยุคเทคโนโลยี” ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธที่จะไม่เรียนรู้หรือรับรู้ได้ และเป็นสิ่งที่เราๆจะต้องปรับตัวให้ทันต่อโลกทันต่อเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น สังคมออนไลน์ จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้ใช้ควรตระหนักและระมัดระวังในด้านต่างๆ เช่น ด้านการใช้ภาษาควรใช้ภาษาที่สุภาพไม่หยาบคาย หรือเสียดสีบุคคลอื่น รู้จักกาลเทศะในการใช้ภาษา และนอกจากนั้นผู้ใช้บริการต้องคำนึงในด้านคุณธรรม จริยธรรม เพราะถ้าผู้ใช้บริการขาดในเรื่องดังกล่าวนี้ถือเป็นการใช้บริการสังคมเครือข่ายในทางไม่สร้างสรรค์และเป็นการบ่อนทำลายสังคมออนไลน์



บล็อก เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก ( weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า วิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันใน มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก


ไมโครบล็อก ต่างจากบล็อกอย่างไร


คนที่ชอบเขียนข้อความหรืออ่านเว็บไซต์จะรู้จักกันดีกับบล็อกหรือเว็บบล็อก แต่ถ้าพูดถึงไมโครบล็อกคืออะไรหรือแตกต่างอย่างไรกับบล็อกที่เรารู้จักกันดี
บล็อกหรือเว็บบล็อกจะมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่ใช้เก็บข้อมูล เผยแพร่ข่าวสาร บทความรูปภาพหรือบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในรูปแบบไดอารี่ออนไลน์ที่เจ้าของบล็อกได้สร้างเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นกัน
ส่วน ไมโครบล็อกจะเป็นบล็อกขนาดจิ๋วที่ปรากฎอยู่ในเว็บบล็อกไว้เพื่อเจ้าของบล็อก หรือบุคคลทั่วไปได้เขียนข้อความทักทายหรือแสดงความคิดเห็นรวมถึงบอกสถานะว่า ตนเองต้องการทำอะไรด้วยข้อความสั้นๆครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร
ไมโครบล็อกที่เรารู้จักกันดีก็คือ Twitter,Yammer หรือช่องโพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ต่างๆที่ระบุจำนวนตัวอักษรที่สามารถพิมพ์เอาไว้ได้
ใน ตอนนี้ได้มีการพัฒนาไมโครบล็อกต่างให้สามารถใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆได้มาก ขึ้นด้วย ดังนั้นบางคนจึงสามารถเขียนข้อความได้มากขึ้นสามารถโหลดรูปภาพลงไปได้เยอะ ขึ้นหรือสามารถอัพโหลดวีดีโอไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว



วิกิ หรือ วิกี้ 

 คือลักษณะของแบบหนึ่งที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังสามารถหมายถึงซึ่งเป็นตัวรองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ 



อาร์เอสเอส (RSS = Really Simple Syndication)

คือรูปแบบไฟล์ของภาษาเอ็กเอ็มแอล (XML) ใช้สำหรับการแบ่งปันหัวเรื่อง ข้อมูลบนเว็บไซต์ออกไป หรือสำหรับดึงข่าวจากเว็บไซต์ต่าง ๆ มาแสดงบนเว็บเพจ แต่ก่อนอาจมีการสร้างหัวเรื่องของข่าวจากเว็บไซต์ต้นแบบ จากนั้นนำลิงค์ไปติดที่หน้าเว็บเพจของเรา การแก้ไขถ้าเว็บไซต์ต้นแบบแก้ไข เว็บเพจของเราจะต้องทำการแก้ไขตามด้วย
นอกจากนักท่องเน็ตหรือนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ประโยชน์จากอาร์เอสเอสแล้ว ผู้ใช้ที่ต้องการข่าวสารข้อมูลยังสามารถใช้โปรแกรมประเภท RSS Reader ดึงหัวข้อข่าวสารไปอ่านได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าถึงเว็บไซต์ที่ให้บริการ ทำให้ย่นเวลาในการเข้าถึงข้อมูลได้
รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSS
สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมายอย่างด้านล่าง มักพบบริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ




พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

ความเป็นมา

                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้ม ีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

ความหมาย

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

• แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
• ปัจจัยทางการบริหาร 
• โครงสร้างพื้นฐาน
• ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 


สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้

  • สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
  • สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
  • ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))
  • ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)
  • ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)

                การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B

โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace
  • Seller oriented marketplace
  •   ตามโมเดลนี้องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • Buyer-Oriented Marketplace
  •   โมเดลนี้มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้
  • Intermedialy-Oriented marketplace 
  • โมเดลนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา 




  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C

  • แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C
  • ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
  • การโฆษณา
  • แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)
  • ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking
  • ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
  • การท่องเที่ยว
  • อสังหาริมทรัพย์
  • การประมูล (Auctions)

ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนของการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ 


การค้นหาข้อมูล

  • การเลือกและการต่อรอง
  • การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต
  • การจัดส่งสินค้า/บริการ
  • การบริการหลังการขาย

พฤติกรรมของลูกค้า

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ
  • ตัวบุคคล
  • องค์การ

การวิจัยทางการตลาด

 การวิจัยทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/ บริการบนอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัย เพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า 

โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)

การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต


ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์

  • เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)
  • เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)
  • การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)
  • การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)

การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า

มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
  • เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
  • ห้องสนทนา (Chat rooms)
  • อีเมล์ (E-mail)
  • FAQs (Frequent Answers and Questions)
  • ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
  • ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)

การรักษาความปลอดภัย

ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
  • ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
  • ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
  • ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
  • สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
  • ความปลอดภัย (Safety)

วิธีการรักษาความปลอดภัย

  • การใช้รหัส (Encryption)
  • ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
  • โปรโตคอล (Protocols)

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ
  • ประโยชน์ต่อบุคคล


ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ

  • ประโยชน์ต่อสังคม
  • ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ

ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • ข้อจำกัดด้านเทคนิค
  • ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
  • ข้อจำกัดด้ายเศรษฐกิจ
  • ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น